ยินดีต้อนรับสู่หลักสูตรสรีรวิทยา
ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ทางสรีรวิทยาเพื่อสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมในการส่งเสริมสุขภาพ
ข้อมูลหลักสูตร
1. รหัสและชื่อหลักสูตร
- ภาษาไทย: หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสรีรวิทยา
- ภาษาอังกฤษ: Master of Science Program in Physiology
2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
- ชื่อเต็ม (ภาษาไทย): วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สรีรวิทยา)
- ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ): Master of Science (Physiology)
- ชื่อย่อ (ภาษาไทย): วท.ม. (สรีรวิทยา)
- ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ): M.S. (Physiology)
3. วิชาเอก
ไม่มี
4. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
- แผน 1 ว. 1: จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
- แผน 1 ว. 2: จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
5. รูปแบบของหลักสูตร
- ภาษาที่ใช้: ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
- การรับเข้าศึกษา: รับทั้งนิสิตไทยและนิสิตต่างชาติ
- ความร่วมมือกับสถาบันอื่น: เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยนเรศวรที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง
- การให้ปริญญา: ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว
6. สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร
- กำหนดการเปิดสอน: ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2566 เป็นต้นไป
- สถานะ: เป็นหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566 ปรับปรุงจากหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสรีรวิทยา หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561
- การอนุมัติ:
- คณะกรรมการวิชาการ ครั้งที่ 1/2566 วันที่ 16 มกราคม 2566
- คณะกรรมการประจำบัณฑิตวิทยาลัย ครั้งที่ 2/2566 วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566
- สภาวิชาการ ครั้งที่ 3/2566 วันที่ 7 มีนาคม 2566
- สภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 310(5/2566) วันที่ 29 เมษายน 2566
7. สถานที่จัดการเรียนการสอน
คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
8. ปรัชญาของหลักสูตร
ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ทางสรีรวิทยาที่สามารถบูรณาการกับศาสตร์อื่นเพื่อสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมในการส่งเสริมสุขภาพ
9. วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณลักษณะ ดังนี้:
- มีความรู้ทางด้านสรีรวิทยา มีกระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ และสังเคราะห์ข้อมูลข่าวสารเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ทางวิชาการใหม่ในการตอบสนองต่อความต้องการของสังคมและการต่อยอดทางธุรกิจ
- มีความชำนาญในการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือทางสรีรวิทยาและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำวิจัยเชิงบูรณาการกับศาสตร์อื่นๆ ได้ รวมทั้งมีทักษะการสื่อสาร การใช้เทคโนโลยี
- มีจรรยาบรรณของนักวิจัยและนักวิชาการ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ รวมทั้งมีคุณธรรม จริยธรรม และมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม
โครงสร้างหลักสูตร
1. โครงสร้างหลักสูตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสรีรวิทยา จัดการเรียนการสอนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2565 โดยแบ่งออกเป็น 2 แผนการเรียน:
- แผน 1 ว.1: หลักสูตรเน้นการวิจัย จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
- แผน 1 ว.2: หลักสูตรเน้นการวิจัยและศึกษางานรายวิชา จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
ลำดับที่ | รายการ | เกณฑ์ อว. พ.ศ. 2565 | หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566 | แผน 1 ว. 1 | แผน 1 ว. 2 |
---|---|---|---|---|---|
1 | งานรายวิชา (Course work) ไม่น้อยกว่า | - | - | - | 24 |
1.1 | วิชาบังคับ | - | - | - | 15 |
1.2 | วิชาเลือก ไม่น้อยกว่า | - | - | - | 9 |
2 | วิทยานิพนธ์ ไม่น้อยกว่า | 12 | - | 36 | 12 |
3 | การค้นคว้าด้วยตนเอง | - | - | - | - |
4 | รายวิชาบังคับไม่นับหน่วยกิต | - | - | 5 | 5 |
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า | 36 | 36 | 36 | 36 |
2. รายวิชาในหลักสูตร
ก. กรณีจัดการศึกษา แผน 1 ว. 1
วิทยานิพนธ์: จำนวน 36 หน่วยกิต
- 421551 วิทยานิพนธ์ 1 แผน 1 ว. 1 (Thesis 1, Type A1) - 9 หน่วยกิต
- 421552 วิทยานิพนธ์ 2 แผน 1 ว. 1 (Thesis 2, Type A1) - 9 หน่วยกิต
- 421553 วิทยานิพนธ์ 3 แผน 1 ว. 1 (Thesis 3, Type A1) - 9 หน่วยกิต
- 421554 วิทยานิพนธ์ 4 แผน 1 ว. 1 (Thesis 4, Type A1) - 9 หน่วยกิต
รายวิชาบังคับไม่นับหน่วยกิต: จำนวน 5 หน่วยกิต
- 422510 ระเบียบวิธีวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ (Research Methodology in Health Sciences) - 3(3-0-6)
- 421596 สัมมนา 1 (Seminar 1) - 1(0-2-1)
- 421597 สัมมนา 2 (Seminar 2) - 1(0-2-1)
ข. กรณีจัดการศึกษา แผน 1 ว. 2
รายวิชา: จำนวนไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต
วิชาบังคับ: จำนวน 15 หน่วยกิต
- 422513 ชีววิทยาของเซลล์ (Cell Biology) - 3(3-0-6)
- 421511 สรีรวิทยาเชิงระบบ 1 (Systems Physiology 1) - 4(3-2-7)
- 421512 สรีรวิทยาเชิงระบบ 2 (Systems Physiology 2) - 3(2-2-5)
- 421513 สรีรวิทยาเชิงบูรณาการ (Integrative Physiology) - 2(0-4-2)
- 421514 การพัฒนาและทดสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อสร้างมูลค่าเชิงพาณิชย์ (Health Products Development and Testing for Commercial Value-added) - 3(2-2-5)
วิชาเลือก: จำนวนไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต
- 421521 สรีรวิทยาระบบหายใจเชิงประยุกต์ (Applied Respiratory Physiology) - 3(2-2-5)
- 421522 สรีรวิทยาระบบไตเชิงประยุกต์ (Applied Renal Physiology) - 3(2-2-5)
- 421523 สรีรวิทยาระบบทางเดินอาหารเชิงประยุกต์ (Applied Gastrointestinal Physiology) - 3(2-2-5)
- 421524 สรีรวิทยาระบบต่อมไร้ท่อเชิงประยุกต์ (Applied Endocrine Physiology) - 3(2-2-5)
- 421525 ประสาทวิทยาศาสตร์และเทคนิควิจัย (Neuroscience and Research Technique) - 3(2-2-5)
- 421526 สรีรวิทยาระบบหัวใจร่วมหลอดเลือดเชิงประยุกต์ (Applied Cardiovascular Physiology) - 3(2-2-5)
- 421527 สรีรวิทยาของเซลล์เชิงประยุกต์และเทคนิคทางเซลล์วิทยา (Applied Cell Physiology and Cell Biology Techniques) - 3(2-2-5)
- 421528 สรีรวิทยาการออกกำลังกายเชิงประยุกต์ (Applied Exercise Physiology) - 3(2-2-5)
- 421529 สรีรวิทยาของความชราและการชะลอวัย (Physiology of Aging and Rejuvenation) - 3(2-2-5)
- 421530 โภชนวิทยาประยุกต์กับสุขภาพและการเกิดโรค (Applied Nutrition Science in Health and Disease) - 3(2-2-5)
- 421531 สรีรวิทยาเชิงชีวเวชศาสตร์ (Biomedical Physiology) - 3(2-2-5)
- 421532 ศาสตร์แห่งกายและจิต (Mind-body Science) - 3(2-2-5)
- 421533 โครงงานวิจัยทางสรีรวิทยา (Research Project in Physiology) - 3(0-6-3)
หมายเหตุ: นิสิตสามารถเลือกเรียนรายวิชาระดับบัณฑิตศึกษาในหลักสูตรอื่นของสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องทั้งในมหาวิทยาลัย/นอกมหาวิทยาลัย หรือหลักสูตร Dual Degree โดยเงื่อนไขของการดำเนินงานอยู่ภายใต้ MOU, MOA หรือข้อสัญญาที่ลงนามร่วมกันกับมหาวิทยาลัยนเรศวร โดยได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา
วิทยานิพนธ์: จำนวนไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
- 421561 วิทยานิพนธ์ 1 แผน 1 ว. 2 (Thesis 1, Type A2) - 3 หน่วยกิต
- 421562 วิทยานิพนธ์ 2 แผน 1 ว. 2 (Thesis 2, Type A2) - 3 หน่วยกิต
- 421563 วิทยานิพนธ์ 3 แผน 1 ว. 2 (Thesis 3, Type A2) - 6 หน่วยกิต
รายวิชาบังคับไม่นับหน่วยกิต: จำนวน 5 หน่วยกิต
- 422510 ระเบียบวิธีวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ (Research Methodology in Health Sciences) - 3(3-0-6)
- 421596 สัมมนา 1 (Seminar 1) - 1(0-2-1)
- 421597 สัมมนา 2 (Seminar 2) - 1(0-2-1)
แผนการจัดการเรียนการสอน
ก. แผนการศึกษา แผน 1 ว. 1
ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาต้น
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
---|---|---|
421551 | วิทยานิพนธ์ 1 แผน 1 ว. 1 (Thesis 1, Type A1) | 9 |
422510 | ระเบียบวิธีวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ (Research Methodology in Health Sciences, Non-credit) | 3(3-0-6) |
รวม | 9 หน่วยกิต |
ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาปลาย
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
---|---|---|
421552 | วิทยานิพนธ์ 2 แผน 1 ว. 1 (Thesis 2, Type A1) | 9 |
รวม | 9 หน่วยกิต |
ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาต้น
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
---|---|---|
421553 | วิทยานิพนธ์ 3 แผน 1 ว. 1 (Thesis 3, Type A1) | 9 |
421596 | สัมมนา 1 (Seminar 1, Non-credit) | 1(0-2-1) |
รวม | 9 หน่วยกิต |
ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาปลาย
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
---|---|---|
421554 | วิทยานิพนธ์ 4 แผน 1 ว. 1 (Thesis 4, Type A1) | 9 |
421597 | สัมมนา 2 (Seminar 2, Non-credit) | 1(0-2-1) |
รวม | 9 หน่วยกิต |
ข. แผนการศึกษา แผน 1 ว. 2
ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาต้น
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
---|---|---|
422513 | ชีววิทยาของเซลล์ (Cell Biology) | 3(3-0-6) |
422510 | ระเบียบวิธีวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ (Research Methodology in Health Sciences, Non-credit) | 3(3-0-6) |
421511 | สรีรวิทยาเชิงระบบ 1 (Systems Physiology 1) | 4(3-2-7) |
421512 | สรีรวิทยาเชิงระบบ 2 (Systems Physiology 2) | 3(2-2-5) |
XXXXXX | วิชาเลือก (Elective Course) | 3 |
รวม | 13 หน่วยกิต |
ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาปลาย
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
---|---|---|
421513 | สรีรวิทยาเชิงบูรณาการ (Integrative Physiology) | 2(0-4-2) |
421514 | การพัฒนาและทดสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อสร้างมูลค่าเชิงพาณิชย์ (Health Products Development and Testing for Commercial Value-added) | 3(2-2-5) |
XXXXXX | วิชาเลือก (Elective Course) | 3 |
XXXXXX | วิชาเลือก (Elective Course) | 3 |
421561 | วิทยานิพนธ์ 1 แผน 1 ว. 2 (Thesis 1, Type A2) | 3 |
รวม | ไม่น้อยกว่า 14 หน่วยกิต |
ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาต้น
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
---|---|---|
421596 | สัมมนา 1 (Seminar 1, Non-credit) | 1(0-2-1) |
421562 | วิทยานิพนธ์ 2 แผน 1 ว. 2 (Thesis 2, Type A2) | 3 |
รวม | ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต |
ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาปลาย
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
---|---|---|
421563 | วิทยานิพนธ์ 3 แผน 1 ว. 2 (Thesis 3, Type A2) | 6 |
421597 | สัมมนา 2 (Seminar 2, Non-credit) | 1(0-2-1) |
รวม | 6 หน่วยกิต |
คำอธิบายรายวิชา
วิชาบังคับ
- 422510 ระเบียบวิธีวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ (Research Methodology in Health Sciences) - 3(3-0-6)
ความหมาย ลักษณะ และเป้าหมายการวิจัย กระบวนการวิจัย ประเภทการวิจัย การกำหนดปัญหาการวิจัย ตัวแปรและสมมติฐาน การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การเขียนโครงร่างและรายงานการวิจัย การประเมินงานวิจัย การนำผลวิจัยไปใช้ และจรรยาบรรณนักวิจัย เทคนิคการวิจัยเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ - 422513 ชีววิทยาของเซลล์ (Cell Biology) - 3(3-0-6)
การแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับเซลล์ การจัดระเบียบและหน้าที่ของเซลล์ ชีวโมเลกุล โครงร่างของเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์ เอนไซม์ เมแทบอลิซึมและระบบพลังงานของเซลล์ ข้อมูลทางพันธุกรรมและการควบคุม การสื่อสารของเซลล์ การส่งสัญญาณภายในเซลล์ วงจรของเซลล์ พยาธิวิทยาของเซลล์และการตายของเซลล์ และหัวข้อพิเศษที่เกี่ยวข้องกับเซลล์วิทยา - 421511 สรีรวิทยาเชิงระบบ 1 (Systems Physiology 1) - 4(3-2-7)
หน้าที่และกลไกการทำงานของเนื้อเยื่อและอวัยวะของร่างกายมนุษย์ในภาวะปกติโดยแบ่งเป็น สรีรวิทยาระดับเซลล์ ระบบประสาท ระบบกล้ามเนื้อ ระบบหัวใจร่วมหลอดเลือด และระบบหายใจ และกลไกการปรับตัวของระบบดังกล่าวในสภาวะต่าง ๆ ของร่างกาย - 421512 สรีรวิทยาเชิงระบบ 2 (Systems Physiology 2) - 3(2-2-5)
หน้าที่และกลไกการทำงานของเนื้อเยื่อและอวัยวะของร่างกายมนุษย์ในภาวะปกติโดยแบ่งเป็น ระบบขับถ่ายปัสสาวะ ระบบทางเดินอาหาร ระบบต่อมไร้ท่อ และระบบสืบพันธุ์ ตลอดจนศึกษากลไกการปรับตัวของระบบดังกล่าวในสภาวะต่าง ๆ ของร่างกาย - 421513 สรีรวิทยาเชิงบูรณาการ (Integrative Physiology) - 2(0-4-2)
การอภิปรายองค์ความรู้ปัจจุบันด้านสรีรวิทยา การทำงานของร่างกายแบบองค์รวม การตอบสนองของร่างกายต่อสิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์ของระบบต่างๆ ของร่างกายเชิงบูรณาการ ทั้งภายใต้สภาวะปกติและพยาธิสรีรวิทยาโดยใช้กรณีศึกษา ความเชื่อมโยงและการประยุกต์ใช้เชิงเภสัชวิทยาและเชิงคลินิก - 421514 การพัฒนาและทดสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อสร้างมูลค่าเชิงพาณิชย์ (Health Products Development and Testing for Commercial Value-added) - 3(2-2-5)
ขั้นตอนการต่อยอดองค์ความรู้เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพ หรือการสร้างนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ การทดสอบการออกฤทธิ์ทางชีวภาพของผลิตภัณฑ์ การควบคุมมาตรฐานการผลิต ระบบควบคุมคุณภาพของห้องปฏิบัติการ และการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์สุขภาพ - 421596 สัมมนา 1 (Seminar 1) - 1(0-2-1)
สัมมนาในหัวข้อต่างๆ ทางด้านสรีรวิทยาการแพทย์ หรือทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่เกี่ยวข้อง เน้นให้นิสิตรู้จักวิธีค้นคว้า อ่าน ฝึกการคิดวิเคราะห์บทความหรือผลงานวิจัย และฝึกฝนการนำเสนอ - 421597 สัมมนา 2 (Seminar 2) - 1(0-2-1)
สัมมนาในหัวข้อต่างๆ ทางด้านสรีรวิทยาการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อวิทยานิพนธ์
วิชาเลือก
- 421521 สรีรวิทยาระบบหายใจเชิงประยุกต์ (Applied Respiratory Physiology) - 3(2-2-5)
ความรู้ปัจจุบันของกลไกการทำงานของระบบหายใจ การตอบสนองของระบบหายใจต่อสภาวะต่าง ๆ ฝึกปฏิบัติเทคนิคการศึกษาวิจัยทางสรีรวิทยาระบบหายใจ - 421522 สรีรวิทยาระบบไตเชิงประยุกต์ (Applied Renal Physiology) - 3(2-2-5)
ความรู้ปัจจุบันเกี่ยวกับการควบคุมการทำงานของระบบไต การควบคุมสมดุลของน้ำและอิเล็กโทรไลต์และความผิดปกติ การควบคุมสมดุลกรดด่างและภาวะผิดปกติ ภาวะความดันเลือดสูงที่เกิดจากไต ยาขับปัสสาวะ ภาวะไตวายทั้งในระยะเฉียบพลันและเรื้อรัง การปลูกถ่ายไต การล้างไต การฝึกปฏิบัติเทคนิควิจัยและการอภิปรายผลงานวิจัยใหม่ ๆ ทางสรีรวิทยาของไต - 421523 สรีรวิทยาระบบทางเดินอาหารเชิงประยุกต์ (Applied Gastrointestinal Physiology) - 3(2-2-5)
ความรู้ปัจจุบันและการประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับการทำงานและการควบคุมการทำงานของระบบทางเดินอาหารที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว การหลั่งสารคัดหลั่ง การย่อย และการดูดซึม และการฝึกปฏิบัติเทคนิคการวิจัยทางสรีรวิทยาระบบทางเดินอาหาร - 421524 สรีรวิทยาระบบต่อมไร้ท่อเชิงประยุกต์ (Applied Endocrine Physiology) - 3(2-2-5)
ความรู้ปัจจุบันเกี่ยวกับการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อ การตอบสนองของระบบต่อมไร้ท่อในสภาวะต่าง ๆ พยาธิสรีรวิทยาของระบบต่อมไร้ท่อ บทบาทของฮอร์โมนในการส่งเสริมสุขภาพและโรค - 421525 ประสาทวิทยาศาสตร์และเทคนิควิจัย (Neuroscience and Research Technique) - 3(2-2-5)
ระบบประสาทแบบบูรณาการจากความรู้ที่เกี่ยวข้องทางด้านประสาทกายวิภาคศาสตร์ ประสาทสรีรวิทยา ประสาทวิทยา ชีววิทยาของเซลล์ประสาทในระดับโมเลกุล การติดต่อสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาท หน้าที่ของระบบประสาทในด้านต่าง ๆ รวมทั้งกลไกการเกิดโรคทางระบบประสาท และการฝึกปฏิบัติเทคนิคการวิจัยแบบมาตรฐานที่ใช้ในการศึกษาทางประสาทวิทยาศาสตร์ - 421526 สรีรวิทยาระบบหัวใจร่วมหลอดเลือดเชิงประยุกต์ (Applied Cardiovascular Physiology) - 3(2-2-5)
การทำงานของหัวใจและหลอดเลือด การไหลและการกระจายตัวของเลือด การควบคุมการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือด ความรู้ขั้นสูงและฝึกปฏิบัติเทคนิคการวิจัยทางสรีรวิทยาของระบบหัวใจร่วมหลอดเลือด ตลอดจนเทคนิคการศึกษาผลของยาที่มีต่อการทำงานของหลอดเลือดและกลไกการออกฤทธิ์ของยา - 421527 สรีรวิทยาของเซลล์เชิงประยุกต์และเทคนิคทางเซลล์วิทยา (Applied Cell Physiology and Cell Biology Techniques) - 3(2-2-5)
สมบัติทางเคมีเชิงฟิสิกส์ของเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์และช่องไอออน กลไกการควบคุมการขนส่งผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ เทคนิคและวิธีการในการศึกษาคุณสมบัติและการทำงานของเซลล์ การฝึกปฏิบัติเทคนิควิจัยในห้องปฏิบัติการทางเซลล์วิทยาในปัจจุบันและในเชิงลึก - 421528 สรีรวิทยาการออกกำลังกายเชิงประยุกต์ (Applied Exercise Physiology) - 3(2-2-5)
การประยุกต์ใช้ความรู้และความเข้าใจสรีรวิทยาการออกกำลังกายในการประเมินสมรรถภาพร่างกาย การทำงานของหัวใจและปอด การฝึกฝนการออกกำลังกายเพื่อการเสริมสร้างสุขภาพ การพัฒนาความสามารถทางกีฬา รวมถึงการฝึกฝนการออกกำลังกายในกลุ่มประชากรเฉพาะ - 421529 สรีรวิทยาของความชราและการชะลอวัย (Physiology of Aging and Rejuvenation) - 3(2-2-5)
กลไกการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะต่างๆ ในร่างกายที่เกิดขึ้นตามวัย ปัจจัยที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก การประยุกต์ใช้ความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อป้องกัน ดูแล ส่งเสริมสุขภาพและชะลอความเสื่อมของระบบต่างๆของร่างกาย - 421530 โภชนวิทยาประยุกต์กับสุขภาพและการเกิดโรค (Applied Nutrition Science in Health and Disease) - 3(2-2-5)
ความรู้ปัจจุบันและการประยุกต์ใช้ทางโภชนวิทยาในการป้องกันและรักษาโรคต่างๆ รวมถึงการฝึกปฏิบัติเทคนิคการวิจัยที่เกี่ยวข้อง - 421531 สรีรวิทยาเชิงชีวเวชศาสตร์ (Biomedical Physiology) - 3(2-2-5)
การวัดและการวิเคราะห์สัญญาณทางชีวเวชศาสตร์ในสิ่งมีชีวิตและการประยุกต์ใช้ด้านวิศวกรรมในระบบสรีรวิทยา - 421532 ศาสตร์แห่งกายและจิต (Mind-body Science) - 3(2-2-5)
บทนำสู่ศาสตร์แห่งจิตและกาย ระบบการทำงานของอวัยวะที่สัมพันธ์กับสภาพจิต ทฤษฎี ความเครียดและหลักคิดเกี่ยวกับความทุกข์แนวคิดทางตะวันตกและพุทธศาสนาด้านการเชื่อมกายและจิต วิธีการฝึกจิต ปัจจัยที่มีผลต่อการฝึกจิต - 421533 โครงงานวิจัยทางสรีรวิทยา (Research Project in Physiology) - 3(0-6-3)
การทำโครงงานวิจัยทางสรีรวิทยาระยะสั้น ประกอบด้วยการสืบค้นข้อมูลและการทบทวนวรรณกรรม การตั้งสมมุติฐานและปัญหาการวิจัย ออกแบบการทดลอง การใช้เครื่องมือและเทคนิควิจัยอย่างเหมาะสม การวิเคราะห์ข้อมูลและการอภิปรายผล รวมถึงความรู้พื้นฐานด้านวิทยาการข้อมูลและชีวสารสนเทศ
วิทยานิพนธ์
- 421551 วิทยานิพนธ์ 1 แผน 1 ว. 1 (Thesis 1, Type A1) - 9 หน่วยกิต
ศึกษาองค์ประกอบวิทยานิพนธ์ ค้นคว้า ทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง กำหนดประเด็นโจทย์/หัวข้อวิทยานิพนธ์ - 421552 วิทยานิพนธ์ 2 แผน 1 ว. 1 (Thesis 2, Type A1) - 9 หน่วยกิต
พัฒนาเอกสารแสดงความคิดรวบยอดเกี่ยวกับวิทยานิพนธ์ (Concept Paper) และจัดทำผลการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง - 421553 วิทยานิพนธ์ 3 แผน 1 ว. 1 (Thesis 3, Type A1) - 9 หน่วยกิต
พัฒนาเครื่องมือและวิธีการวิจัย จัดทำโครงร่างวิทยานิพนธ์เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการ - 421554 วิทยานิพนธ์ 4 แผน 1 ว. 1 (Thesis 4, Type A1) - 9 หน่วยกิต
เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล จัดทำรายงานความก้าวหน้าเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ จัดทำวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์และบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ตามเกณฑ์สำเร็จการศึกษา - 421561 วิทยานิพนธ์ 1 แผน 1 ว. 2 (Thesis 1, Type A2) - 3 หน่วยกิต
ศึกษาองค์ประกอบวิทยานิพนธ์ หรือตัวอย่างวิทยานิพนธ์ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง กำหนดประเด็นโจทย์/หัวข้อวิทยานิพนธ์ พัฒนาเอกสารแสดงความคิดรวบยอดเกี่ยวกับวิทยานิพนธ์ และจัดทำผลการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง - 421562 วิทยานิพนธ์ 2 แผน 1 ว. 2 (Thesis 2, Type A2) - 3 หน่วยกิต
พัฒนาเครื่องมือและวิธีการวิจัยจัดทำโครงร่างวิทยานิพนธ์เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการ - 421563 วิทยานิพนธ์ 3 แผน 1 ว. 2 (Thesis 3, Type A2) - 6 หน่วยกิต
เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล จัดทำรายงานความก้าวหน้าเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ จัดทำวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์และบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ตามเกณฑ์สำเร็จการศึกษา
สาขาการวิจัย
- Cells and Cancer
- Neuroscience
- Cardiovascular system
- Gastrointestinal system & Metabolism
- Endocrine system
- Exercise, Mind, and Body fitness
- Renal Physiology
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (Program Learning Outcomes; PLOs) ถูกกำหนดเป็น 7 ข้อ ดังนี้:
ด้านความรู้ (Knowledge)
- PLO 1: อธิบายกลไกการทำงานและการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของร่างกาย
- PLO 2: บูรณาการความรู้ทางสรีรวิทยาเข้ากับศาสตร์อื่นๆ เพื่อวิเคราะห์ปัญหาทางสรีรวิทยาหรือการกำหนดโจทย์และวางแผนวิจัย
ด้านทักษะ (Skills)
- PLO 3: ใช้เครื่องมือและปฏิบัติเทคนิคทางสรีรวิทยาและวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามมาตรฐานห้องปฏิบัติการได้
- PLO 4: ดำเนินการวิจัยด้านสรีรวิทยาและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างสรรค์ผลงานวิชาการในการแก้ปัญหาสังคมหรือผู้ประกอบการ
ด้านจริยธรรม (Ethics)
- PLO 5: ปฏิบัติตามจรรยาบรรณนักวิจัย
ด้านลักษณะบุคคล (Character)
- PLO 6: ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารได้เหมาะสมกับสถานการณ์
- PLO 7: สามารถเรียนรู้และทำงานเป็นทีมได้ มีภาวะผู้นำ
การรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาต่อ
1. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
ก. หลักสูตรแผน 1 ว. 1
- สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับรอง
- มีประสบการณ์ทำงานหรือทำวิจัยหรือมีผลงานวิจัย ในสาขาสรีรวิทยาหรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
- กรณีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามที่กำหนดข้างต้น ให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของกรรมการบริหารหลักสูตร
ข. หลักสูตรแผน 1 ว. 2
- สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับรอง
- กรณีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามที่กำหนดข้างต้น ให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของกรรมการบริหารหลักสูตร
2. ระบบรับสมัครเข้าศึกษา
ระบบรับเข้าศึกษา บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร
เยี่ยมชมระบบรับสมัครอัตราค่าเล่าเรียน
เหมาจ่าย 80,000 บาท ตลอดหลักสูตร หรือเทอมละ 20,000 บาท
เกณฑ์สำเร็จการศึกษา
เพื่อสำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสรีรวิทยา นิสิตต้องปฏิบัติตามเกณฑ์ ดังนี้:
- สะสมหน่วยกิตครบตามโครงสร้างหลักสูตร (36 หน่วยกิต) สำหรับทั้งแผน 1 ว. 1 และแผน 1 ว. 2
- ผ่านการสอบวิทยานิพนธ์และจัดทำวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร
- ตีพิมพ์หรือได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารวิชาการที่ได้รับการยอมรับตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย
- มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPA) ไม่ต่ำกว่า 3.00
- ปฏิบัติตามระเบียบและข้อกำหนดของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร
อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา
- อาจารย์สอน/ผู้ช่วยสอนสาขาสรีรวิทยาหรือวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวข้อง ในสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน
- นักวิจัยด้านสรีรวิทยาและด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
- นักวิชาการและนักวิทยาศาสตร์ทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพในภาครัฐหรือภาคเอกชน
- นักธุรกิจทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ
- ที่ปรึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ
ข้อมูลหลักสูตรย้อนหลัง
ดาวน์โหลดข้อมูลหลักสูตรย้อนหลัง:
มคอ.2 หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสรีรวิทยา ปรับปรุง พ.ศ.2566ระบบรับสมัครเข้าเรียน
สมัครเข้าศึกษาได้ที่ระบบรับสมัครบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร
เยี่ยมชมระบบรับสมัครช่องทางการติดตามข่าวสาร
ติดต่อสอบถาม
งานบริการการศึกษา คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
โทรศัพท์: 0-5596-4711, 0-5596-4706