การดูแลและสนับสนุนนิสิต

 

การดูแลและสนับสนุนนิสิต

        การเจ็บป่วยด้านสุขภาพ รวมทั้งความเครียดระหว่างการศึกษาในมหาวิทยาลัยนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์มีระบบอาจารย์ที่ปรึกษาและนักวิชาการกิจการนิสิตที่ช่วยดูแลให้นิสิตมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์พร้อมกับการเรียน

ปัญหาด้านสุขภาพกาย

        หากน้อง ๆ เกิดอาการเจ็บป่วย ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัด ปวดท้อง ท้องเสีย หรืออาการเจ็บป่วยต่าง ๆ นิสิตสามารถพุ่งตรงไปได้ตามข้อมูลดังนี้

1. เข้ารับการตรวจที่่ MED. NU. PREMIUM CLINIC โดยมีแพทย์ทำการตรวจรักษาและให้คำปรึกษา ทุกวันจันทร์ ถึง วันพฤหัสบดี (เว้นวันหยุดและวันหยุดนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่เวลา 16.30-20.00 น. ณ อาคารขวัญเมือง

2. กรณีฉุกเฉิน น้อง ๆ สามารถเข้ารับบริการได้ที่ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร หากนิสิตต้องการรถพยาบาลติดต่อที่ 1669

3. สามารถแจ้งข้อมูลขอความช่วยเหลือได้ที่ ศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉินนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร (NUsec) ให้บริการช่วยเหลือ ตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน เบอร์โทรศัพท์ 086-9369977 หรือได้ที่ Facebook page: ศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉินนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร (https://www.facebook.com/NUsecSanu/)

ปัญหาด้านสุขภาพใจ

        หากน้อง ๆ เกิดความเครียดจากเรื่องเรียน ความรัก การปรับตัวในมหาวิทยาลัย ไม่รู้จะพูดคุยหรือปรึกษาใคร กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ ทานข้าวไม่ได้ วิตกกังวลเรื่องต่าง ๆ น้อง ๆ สามารถพุ่งตรงไปได้ ณ ข้อมูล ดังนี้

1. ศูนย์สุขภาวะนิสิต ที่ศูนย์นี้จะมีนักจิตวิทยาที่พร้อมพูดคุยรับฟังปัญหาของน้อง ๆ วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น. นอกเวลาราชการ 18.00 – 20.00 น. ณ อาคารขวัญเมือง (เว้นวันหยุดราชการ)

2. ศูนย์บริการข้อมูลนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร ศูนย์นี้จัดตั้งเพื่อเป็นแหล่งข้อมูลให้กับน้อง ๆ นิสิต ในทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องและจำเป็นกับนิสิต เช่น เรื่องเรียน ส่วนตัว การทำกิจกรรม รวมไปถึงการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อเอื้ออำนวยให้นิสิตใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยนเรศวรได้สะดวก ปลอดภัย และมีความสุขยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ของนิสิตให้เป็นไปได้มากที่สุด

ที่ตั้ง

ชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกีรยติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ
มหาวิทยาลัยนเรศวร ต.ท่าโพธิ์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000
โทรศัพท์ 055-968334
e-mail: ssidnu@hotmail.com
Facebook page: ssid nu

เวลาให้บริการ

ให้บริการเวลา 08.30 – 16.30 น.
นอกเวลาสามารถฝากคำถามไว้ใน e-mail หรือ Facebook
หรือหากมีเหตุที่ต้องการข้อมูลเร่งด่วน สามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์รับแจ้งเหตุ
ฉุกเฉินนิสิต 086-9369977 (24 ชั่วโมง)

ศูนย์ให้คำปรึกษาและจัดหางาน มหาวิทยาลัยนเรศวร

– บริการให้ให้คำปรึกษาแก่น้อง ๆ ทั้งเรื่องเรียน ส่วนตัว ความรัก และเรื่องอื่น ๆ รายบุคคล รายกลุ่ม

– บริการจัดหางานพิเศษระหว่างเรียน และประชาสัมพันธ์ข่าวการรับสมัครงานบริการห้องสมุดอาชีพ ทดสอบความถนัดทางอาชีพ

– บริการฝึกทักษะอาชีพอิสระเพื่อเตรียมความพร้อมสู่โลกอาชีพแนะนำการสมัคร สัมภาษณ์ เขียนจดหมายสมัครงาน ภาษาไทย/อังกฤษ การพัฒนาบุคลิกภาพ

– สร้างเครือข่ายแกนนำนิสิต เพื่อให้คำปรึกษาเบื้องต้นและให้ข้อมูลการขอรับคำปรึกษาของเพื่อนนิสิต

สถานที่ตั้ง คือ อาคารอเนกประสงค์ (โดม) กองกิจการนิสิต ชั้น 1 เบอร์โทรศัพท์ 055-961211

ปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาของนิสิต

นิสิตสามารถพูดคุยกับอาจารย์ที่ปรึกษาของนิสิตโดยสามารถนัดพูดคุยกับอาจารย์ผ่าน My MedSci Application หรือโทรศัพท์ ข้อมูลของนิสิตจะถูกเก็บเป็นความลับ

หากสงสัยว่าตนเองกำลังอยู่ในภาวะซึมเศร้า

หากน้องๆ รู้สึกว่าตัวเองอาจอยู่ในภาวะซึมเศร้าสามารถเข้ารับคำปรึกษาจากจิตแพทย์ ที่แผนกจิตเวช ชั้น 3 อาคารสิรินธร โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร เบอร์โทรศัพท์ 05596-5532, คลินิกจิตเวช 055-655703 แฟกซ์ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ e-mail ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ med_nu@nu.ac.th หรือ Facebook ภาควิชาจิตเวชศาสตร์

กังวลว่าพื่อนน่าจะปัญหาด้านสุขภาพกายหรือจิตใจ 

หากน้องๆ รู้สึกว่าเพื่อนของตนเองน่าจะปัญหาด้านสุขภาพกายหรือจิตใจ นิสิตสามารถแจ้งนักวิชาการกิจการนิสิต นางสาวณัฐิณี มณีท่าโพธิ์ ได้ที่ ห้องสำนักงานเลขานุการคณะ ชั้น 1 เบอร์โทรศัพท์ภายใน 055-964702 หรือ email: student_ms@nu.ac.th เพื่อการช่วยเหลือต่อไป ข้อมูลการแจ้งนั้นจะถูกเก็บไว้เป็นความลับ

ระบบอาจารย์ที่ปรึกษา

น้อง ๆ ทุกคน จะมีคนพิเศษคอยช่วยเหลือดูแลน้องๆ ตลอดระยะเวลาที่เรียนอยู่ที่รั้ววิทยาศาสตร์การแพทย์ บุคคลท่านนั้น คือ อาจารย์ที่ปรึกษานิสิต โดยทางฝ่ายพัฒนานิสิต จะจัดอาจารย์ที่ปรึกษาให้กับนิสิต ทุกคน นิสิตทุกคนจะทราบตอนเปิดเทอม และในแต่ละเทอมนิสิตจะได้พบกับอาจารย์ที่ปรึกษา หรือ อาจารย์บางท่านก็จะนัดหมายนิสิตนอกเหนือ เวลาที่กิจการนิสิต จัดกิจกรรมอาจารย์ที่ปรึกษาพบนิสิต

การแจ้งย้ายสิทธิ์การรักษา

น้อง ๆ จะสามารถเข้ารับบริการการรักษาของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวรด้วยสิทธิ์การรักษาบัตรประกันสุขภาพ (บัตรทอง) แต่นิสิตมีความจำเป็นที่ต้องย้ายสิทธิ์การรักษา โดยมีขั้นตอนการย้าย ดังต่อไปนี้

-ในวันที่น้อง ๆ รายงานตัว จะมีการให้ส่งสำเนาบัตรประชาชน ซึ่งทางรพ จะนำไปดำเนินเรื่องย้ายสิทธิ์การรักษา

-ถ้าน้องยังไม่ได้ย้ายสิทธิ์สามารถไปติดต่อได้ที่ ห้องงานบริหารค่ารักษาพยาบาล (เบอร์ 4) หน่วยประกันสุขภาพ เบอร์โทรศัพท์ 055-965102, 055-965103 โดยนำสำเนาบัตรประชาชนไปยื่นย้ายสิทธิ์การรักษา ซึ่งการย้ายสิทธิ์ ครั้งนี้ จะเป็นการอำนวยความสะดวกให้นิสิตมารักษาพยาบาล ที่โรงพยาบาลนเรศวร

หอพักนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร

หอพักนิสิตหรือบ้านหลังที่ 2 ที่ทางมหาวิทยาลัย จัดไว้ให้กับน้องใหม่ เฟรชชี่ ปี 1 ได้มาอยู่ ปรับสภาพ เจอเพื่อนใหม่ ทำกิจกรรม สานสัมพันธ์ ร่วมกัน หอพักจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกให้น้อง ๆ ได้ใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข และเดินทางสะดวกสบายภายในมหาวิทยาลัย นั้น เด็กๆ สามารถติดตามข้อมูล ได้ที่ Website: www.nudorm.nu.ac.th หรือ ทาง Facebook page: หอพักนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร NU DORM เบอร์โทรศัพท์ 055-961290

กองทุนสวัสดิภาพนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร

กองทุนนี้ เป็นกองทุนที่ช่วยเหลือเรื่องค่าใช้จ่าย เนื่องจากนิสิตประสบภัยอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุ เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุ และเป็นสวัสดิการให้นิสิต จะเสียเป็นรายปี ปีละ160 บาท ข้อมูลที่ควรทราบตามนี้

1. นิสิตเกิดอุบัติเหตุเสียชีวิต จะได้รับเงินช่วยเหลือ เป็นจำนวน 150,000 บาท

2. นิสิตเสียชีวิตจากโรคภัยไข้เจ็บ จะได้รับเงินช่วยเหลือ เป็นจำนวน 75,000 บาท

3. ค่าใช้จ่ายจากการรักษาพยาบาล จำนวน ไม่เกิน 15,000 บาท แต่จะจ่ายในกรณี ที่นิสิตเสียส่วนเกินจากสิทธิ์ของตนเองก่อน เช่น นิสิตเกิดอุบัติเหตุ ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล นิสิตต้องเบิกจ่ายจากบัตรทอง หรือสิทธิ์ของ พรบ. ก่อน และถ้ามีส่วนเกินจึงสามารถนำมาเบิกกับกองทุนสวัสดิภาพได้ แต่ไม่เกิน 15,000 บาท

สามารถมาทำเรื่องเบิกได้ที่ ห้องงานธุรการ กองกิจการนิสิต หรือโทรสอบถามได้ที่เบอร์ 055-961214 และดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ กองทุนสวัสดิภาพนักเรียนและนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร http://ww2.sa.nu.ac.th/formdownload.php?type=1

ความปลอดภัยบนท้องถนน

        เมื่อน้อง ๆ เข้ามาใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยเทา แสด แห่งนี้ เราจะได้พบกับระบบการขนส่ง เพื่อช่วยอำนวยความความสะดวก นั่นก็คือ รถไฟฟ้า รถไฟฟ้าจะรับส่งพวกเราไปถึงจุดหมายปลายทางอย่างปลอดภัย แต่ถ้าใครจะพกพาหนะส่วนตัวมาใช้ คือ รถมอเตอร์ไซต์ น้องๆ จะต้องมีของสำคัญติดตัว รายการตามสั่งดังนี้

1. พรบ. ต้องตรวจสอบว่ามีพรบ. หรือไม่ ไม่พอแค่นั้น ตรวจสอบต่อว่า หมดอายุหรือไม่ ดูให้ครบ จบทุกอย่าง

2. ใบขับขี่ ควรทำและจำไว้ เพราะถือว่าเป็นใบเบิกทาง บนท้องถนน

3. หมวกกันน็อค สำคัญมากๆ เพื่อป้องกันอัตรายที่จะเกิดกับเรา หมวกก็ควรมีมาตราฐานตาม มอก อย่าใส่แบบแฟชั่น รัดคาง ให้แน่น และสามารถป้องกันแสงแดดอันแผดเผาได้ด้วยนะ

ถ้าเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน สิ่งเหล่านี้จะเป็นเกราะป้องกันเราได้ นั่นก็คือ ถ้าเกิดขี่รถไปปะทะกับเพื่อน ได้รับบาดเจ็บมา เข้าโรงพยาบาล ถ้าพรบ เราขาด เราจะไม่สามารถเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลใดๆ ได้เลย เราต้องจ่ายเองเต็ม ๆ ไม่สามารถจะใช้สิทธิ์บัตรทอง หรือมาเบิกกับกองทุนสวัสดิภาพได้ เนื่องจากต้องเบิกจ่ายตามขั้นตอน ตามวงจร นี้

คณาจารย์ฝ่ายพัฒนานิสิต

Loading