ด้านวิชาการ

 

 

ด้านวิชาการ

1. การสำเร็จการศึกษา

เป้าหมายของน้องๆ ทุกคนในการเข้ามาเรียน คือ การได้ใบปริญญาบัติ แต่น้องๆ จะสำเร็จการศึกษาได้นั้น ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

1. มีระยะเวลาการศึกษาตามกำหนดของแต่ละหลักสูตร เช่น หลักสูตรวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุลชีววิทยา และพยาธิกายวิภาค ต้องสำเร็จการศึกษาภายใน 8 ปี หลักสูตรวิทยาศาสตร์การแพทย์ (ตรีต่อเนื่องโท) ต้องสำเร็จการศึกษาภายใน 6 ปี

2. ลงทะเบียนเรียน และเรียนรายวิชาต่างๆ ครบตามหลักสูตรและเงื่อนไขของสาขาวิชานั้นๆ และไม่มีรายวิชาใดได้รับอักษร I P F หรือ U

3. น้องๆ ต้องได้รับการทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษจาก “สถานพัฒนาวิชาการด้านภาษามหาวิทยาลัยนเรศวร” อย่างน้อย 1 ครั้ง

4. มีผลการเรียนสะสมเฉลี่ยตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 2.00

เกียรตินิยม

สำหรับน้องคนไหนที่มีคุณสมบัติตามข้อ 1 – 3 และเข้าเกณฑ์ต่อไปนี้จะได้รับปริญญาเกียรตินิยม

1. ไม่เป็นนิสิตหรือนักศึกษาที่โอนมาจากสถาบันอื่น

2. มีผลการเรียนสะสมเฉลี่ยตลอดหลักสูตรตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป จะได้รับ เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง แต่ถ้ามีผลการเรียนสะสมเฉลี่ยตลอดหลักสูตรตั้งแต่ 3.20 ถึง 3.49 จะได้รับเกียรตินิยมอันดับสอง

3. ไม่เคยได้รับระดับขั้น F หรืออักษร U และไม่ลงทะเบียนเรียนซ้ำในราย วิชาใดๆ

การอนุมัติปริญญา

มหาวิทยาลัยจะพิจารณาอนุมัติปริญญา เมื่อสิ้นสุดทุกภาคการศึกษา

2. การสอบวัดความสามารถทางภาษาอังกฤษ (English proficiency test)

นิสิตคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ทุกคนต้องสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษโดยมาตรฐาน Cambridge English Placement Test (CEPT) มหาวิทยาลัยกำหนดไว้ว่าก่อนน้องๆ จะสำเร็จการศึกษาต้องมีคะแนนสอบภาษาอังกฤษในระดับ A2 (20 คะแนน) ขึ้นไป โดยน้องๆ จะต้องเข้ารับการสอบครั้งแรกในภาคการศึกษาต้นของชั้นปีที่ 1 ทั้งนี้น้องๆ สามารถสอบวัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง โดยน้องๆ สามารถติดต่อได้ที่ กองพัฒนาภาษาและกิจการต่างประเทศ (http://www.diald.nu.ac.th/th/)

3. การทดสอบความรู้ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Examination)

มหาวิทยาลัยนเรศวรกำหนดไว้ว่า นิสิตทุกคนต้องเข้ารับการทดสอบความรู้ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ก่อนสำเร็จการศึกษา เพื่อเทียบเกณฑ์มาตรฐานความรู้ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศที่มหาวิทยาลัยกำหนด โดยน้องๆ สามารถติดต่อเข้าสอบวัดความรู้ได้ตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 เป็นต้นไป โดยไม่มีค่าใช้จ่ายภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง น้องๆ สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเข้ารับการสอบที่ กองบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (CITCOMS) หรือ https://citcoms.nu.ac.th/

4. เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการเรียน

ในแต่ละหลักสูตร น้องๆ จะได้เรียนหลากหลายวิชา ซึ่งจะจำแนกออกเป็น 3 หมวดใหญ่ๆ ดังนี้ 1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 2. หมวดวิชาเฉพาะ และ 3. หมวดวิชาเลือกเสรี โดยแต่ละหมวดวิชามีความหมายดังต่อไปนี้
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป หมายถึง หมวดวิชาที่เสริมสร้างความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ให้มีความรอบรู้อย่างกว้างขวาง เข้าใจ และเห็นคุณค่าของตนเอง ผู้อื่น สังคม ศิลปวัฒนธรรม และธรรมชาติ ใส่ใจต่อความเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ดำเนินชีวิตอย่างมีคุณธรรมพร้อมให้ความช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ และเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของสังคมไทยและสังคมโลก สถาบันอุดมศึกษาอาจจัดวิชาศึกษาทั่วไปในลักษณะจำแนกเป็นรายวิชาหรือลักษณะบูรณาการใด ๆ ก็ได้ โดยผสมผสานเนื้อหาวิชาที่ครอบคลุมสาระของกลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ภาษาและกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์ ในสัดส่วนที่เหมาะสม เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป โดยให้มีจำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต
วิชาบังคับ เป็นวิชาที่ทุกคนจำเป็นจะต้องเรียนให้ครอบคลุม 1. กลุ่มวิชาภาษา 2. กลุ่มวิชามนุษย์ศาสตร์ 3. กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และ 4. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยที่นิสิตสามารถเลือกเรียนกลุ่มวิชาต่างๆตามที่หลักสูตรได้กำหนดไว้ให้ในหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ตามวัตถุประสงค์ของวิชาศึกษาทั่วไป
วิชาบังคับไม่นับหน่วยกิต เป็นวิชาทุกคนจำเป็นจะต้องเรียน คือวิชากีฬาและการออกกำลังกาย เพื่อให้นิสิตได้มีโอกาสได้ออกกำลังกาย เสริมสร้างสมรรถภาพทางร่างกาย และการทดสอบสมรรถภาพทางกายของนิสิต

2. หมวดวิชาเฉพาะ หมายถึง วิชาแกน วิชาเฉพาะด้าน วิชาพื้นฐานวิชาชีพและวิชาชีพ ที่มุ่งหมายให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติงานได้ โดยให้มีจำนวนหน่วยกิตรวม สำหรับหลักสูตรปริญญาตรี (4 ปี) ทางวิชาการ ให้มีจำนวนหน่วยกิตหมวดวิชาเฉพาะ รวมไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต
วิชาเลือก หมายถึงวิชาที่หลักสูตรได้เตรียมไว้ให้นิสิตได้เลือกเรียนตามความต้องการของตนเองเพื่อส่งเสริมให้นิสิตได้มีความรู้และทักษะเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์เพิ่มขึ้น

3. หมวดวิชาเลือกเสรี หมายถึง วิชาที่มุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ตามที่ตนเองถนัดหรือสนใจ โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกเรียนรายวิชาใด ๆ ในหลักสูตรระดับปริญญาตรีโดยให้มีจำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิตทั้งนี้รายวิชาเลือกเสรีจะต้องไม่ใช่รายวิชาศึกษาทั่วไปของมหาวิทยาลัยนเรศวร นิสิตสามารถเลือกเรียนรายวิชาที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยนเรศวร หรือสถาบันอื่นได้
ในแต่ละหลักสูตรอาจมีสัดส่วนจำนวนหน่วยกิตของแต่ละหมวดวิชาแตกต่างกันได้ ยกตัวอย่างโครงสร้างหลักสูตรวิทยาศาสตร์การแพทย์ น้องๆ จะมีต้องลงทะเบียนเรียนในแต่ละหมวดวิชา ดังต่อไปนี้
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป อย่างน้อย 30 หน่วยกิต
2. หมวดวิชาเฉพาะ        อย่างน้อย 72 หน่วยกิต
3. หมวดวิชาเลือกเสรี     อย่างน้อย 6 กิต
รวมทั้งหมดต้องเรียนไม่ต่ำกว่า  120 หน่วยกิตจะถือว่าสำเร็จการศึกษา
หากน้องๆ มีผลการเรียนไม่ค่อยดี น้องๆ อาจจะพบคำศัพท์แปลกๆ คือ รอพินิจ และพ้นสภาพ มาดูความหมายกันว่าต่างกันอย่างไร

นิสิตรอพินิจ

 นิสิตรอพินิจ หมายถึง อยู่ระหว่างพิจารณาว่าจะถูกพ้นสภาพหรือไม่ โดยนิสิตที่มีผลการเรียนและการสอบได้ค่าระดับเฉลี่ยสะสมน้อยกว่า 2.00

พ้นสภาพนิสิต

พ้นสภาพนิสิต หมายถึง การพ้นสภาพจากการ?เป็นนิสิตของมหาวิทยาลัย น้องๆ จะพ้นสภาพก็ต่อเมื่อ

  1. เมื่อเรียนมาแล้วครบสองภาคการศึกษาปกติ ยังมีค่าระดับขั้นสะสมเฉลี่ยทั้งหมดไม่ถึง 1.50
  2. เมื่อเรียนมาแล้วครบสี่ภาคการศึกษาปกติ ยังมีค่าระดับขั้นสะสมเฉลี่ยทั้งหมดไม่ถึง 1.75
  3. เมื่อเรียนมาแล้วครบสี่ภาคการศึกษาปกติขึ้นไป ยังมีค่าระดับขั้นสะสมเฉลี่ยทั้งหมดไม่ถึง 1.75
  4. รอพินิจ 3 ครั้ง ต่อกัน

นอกจากนี้นิสิตสามารถพ้นสภาพได้ในกรณี 1. หากนิสิตไม่ดำเนินการลงทะเบียนเรียน และไม่ชำระค่าธรรมเนียมในเวลาที่กำหนดจะถือว่านิสิตพ้นสภาพนิสิต 2. ลาออกจากการเป็นนิสิต 3. ถูกคัดชื่อออกจากการเป็นนิสิตเนื่องจากกระทำผิดวินัยนิสิต

รลงทะเบียน เพิ่ม – ถอน วิชเรียน

ในแต่ละภาคการศึกษาน้องๆสามารถลงทะเบียนเรียนได้ไม่ต่ำกว่า 18 หน่วยกิตและไม่เกิน 21 หน่วยกิต (18-21 หน่วยกิต)หลังจากลงทะเบียนเรียนแล้วและเปิดเทอมไปแล้ว 1 สัปดาห์น้อง ๆ สามารถเพิ่มหรือถอนรายวิชาเรียนได้โดย การเพิ่มรายวิชาคือน้อง ๆ พิจารณาแล้วว่าเรียนไหวละลงทะเบียนยังไม่เกิน 21 หน่วยกิต อยากเก็บหน่วยกิตเพิ่ม ส่วนการถอนรายวิชาคือ ลงทะเบียนเกิน 21 หน่วยกิต หรือ รายวิชาในภาคการศึกษานั้น ๆ หนักเกิน เช่นมี ฟิสิกส์  เคมี แคลคูลัสชนกัน (อนาคตดูท่าจะไม่รอด) ก็สามารถถอนรายวิชาได้ ที่สำคัญจะเพื่มหรือถอนไม่มีการเก็บตังค่าเทอมเพิ่มนะครับเพราะของเราเป็นแบบเหมาจ่าย การเพิ่มถอน น้องๆ สามารถทำ online ผ่าน www.reg.nu.ac.th โดย ขั้นตอนการยื่นคำร้องต่างๆ นิสิตสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มคำร้อง และสามารถติดตามทราบผลคำร้อง ต่างๆ ได้ที่เว็บไซต์ www.reg.nu.ac.th

รหัสเอกสารงานทะเบียนนิสิตและประมวลผล

1. บริการด้านเตรียมข้อมูลนิสิตใหม่

NU 1 ระเบียนประวัตินิสิต

2. บริการด้านการจัดการเรียนการสอน

NU 3 คู่มือลงทะเบียนเรียน
NU 4 แบบขอเปิดรายวิชา / หมู่เรียน (เพิ่ม)
NU 5 แบบขอปิดรายวิชา / หมู่เรียน
NU 6 แบบขอเปลี่ยนแปลงการสอนรายวิชา

3. บริการด้านลงทะเบียนเรียน

NU 7 คำร้องขอคืนสภาพการเป็นนิสิต
NU 8 คำร้องขอเพิ่มรายวิชาหลังกำหนด
NU 9 คำร้องขอยื่นสำเร็จการศึกษาล่าช้ากว่ากำหนด
NU 11 แบบขอถอนรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียนโดยได้รับอักษร W
NU 14 คำร้องขอเทียบโอนรายวิชา
NU 18 คำร้องทั่วไป
NU 20 ใบแจ้งยอดชำระเงิน
NU 24 ใบมอบฉันทะ

4. บริการด้านเอกสารสำคัญ

NU 15 คำร้องขอใบแสดงผลการเรียน (Transcript)
NU 21 คำร้องขอใบรับรอง
NU 25 แบบขอสำเร็จการศึกษา

5. บริการด้านระเบียนประวัติ

NU 13 คำร้องขอย้ายคณะ / ขอย้ายสาขาวิชาเรียน
NU 16 คำร้องขอเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล ยศ และคำนำหน้านาม
NU 17 คำร้องขอลาพักการศึกษา
NU 19 คำร้องขอลาออกจากการศึกษา

6. บริการด้านประมวลผลข้อมูล

NU 32 แบบรายงานผลการเรียนรายวิชา
NU 33 แบบแก้ไขผลการเรียนรายวิชา

6. บริการด้านประมวลผลข้อมูล

NU 32 แบบรายงานผลการเรียนรายวิชา
NU 33 แบบแก้ไขผลการเรียนรายวิชา

7. บริการด้านสารนิเทศ

NU 22 รายงานสถิติจำนวนนิสิตที่ลงทะเบียนเรียน
NU 26 ปฏิทินการศึกษา
NU Registrar คู่มืองานทะเบียนนิสิตและประมวลผล

8. หากมีคำถามสามารถติดต่อ

ดร.พฤฒินันท์ สุฤทธิ์
รองคณบดีฝ่ายวิชาการและประกันคุณภาพการศึกษา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพย์ภาพร บัวเลิง
ผู้ช่วยคณบดี

นางดวงเดือน ประสานสมบัติ
รักษาการหัวหน้างานบริการการศึกษา
เบอร์โทร 055-964706
หน่วยวิชาการระดับปริญญาตรีและปรีคลินิก/หน่วยประกันคุณภาพการศึกษา

น.ส.รพีพรรณ บัวด้วง
นักวิชาการศึกษา/งานวิชาการ
เบอร์โทร 055-964699
หน่วยวิชาการระดับปริญญาตรีและปรีคลีนิก/หน่วยประกันคุณภาพการศึกษา

นายธนภาคย์ อินทพฤกษ์
เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป/งานวิชาการ
เบอร์โทร 055-964711
หน่วยวิชาการระดับบัณฑิตศึกษา/หน่วยประกันคุณภาพการศึกษา

น.ส.สุชาวลี ศิริพิทยาไพศาล
เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป/งานวิชาการ
เบอร์โทร 055-964711
หน่วยวิชาการระดับปริญญาตรีและปรีคลินิก/หน่วยประกันคุณภาพการศึกษา

Loading